ภาษีป้าย เรื่อง เล็ก ง่าย ๆ ที่หลายคนนั้นมองข้าม

“ภาษีป้าย” นั้นเป็นเรื่องที่หลายคนนั้นอาจจะยังไม่รู้นะครับเพราะ ว่าหลายคนนั้นมองข้าม และไม่มีใครที่จะสนใจในเรื่องนี้จริงจังนอกจากคนที่กำลังจะทำธุรกิจนะครับ ดังนั้นสำหรับใครที่กำลังคิดจะทำธุรกิจนั้นในบทความนี้เรามาเรียนรู้ในเรื่องภาษีป้ายต่าง ๆ กันดีกว่านะครับไม่ว่าจะเป็น ป้าย ไฟ ตัว อักษร หรือ ป้ายไฟนีออน มีเรื่องอะไรที่เราจะต้องรู้กันบ้าง มาลองดูกันดีกว่านะครั บ

ภาษีป้ายคืออะไร 

ก่อนอื่นที่เราจะมาดูกันถึงในการเก็บภาษีเรามารู้จักกับภาษีป้ายกันก่อนนะครับ ภาษีป้ายนั้นคือ ภาษที่เก็บจากการแสดง ป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่อง และ โลกโก้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการ หรือ เพื่อใช้ในการหารายได้ และ เพื่อโฆษณา ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบอย่างมากไม่ว่าจะเป็น ป้าย ไฟ ตัว อักษร ป้ายไฟนีออน  ป้ายไฟโลโกต่าง ๆ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานั้นผู้ที่จะมีหน้าที่เสียภาษีป้ายเหล่านี้คือ “เจ้าของป้าย” หรือผู้ครอบครอง ป้ายนั้นอย่างถูกต้องนั้นเอง 

ถ้าไม่รู้จักเจ้าขอ ใครจะเป็นคนเสียภาษี 

แน่นอนว่าหลายคนนั้นอาจจะสงสัยอย่างมากเลยใช่ไหมครับ ? ว่าในการเสียภาษีนั้นหากไม่มีผู้ที่ไปยืนภาษีป้ายแบบถูกต้องนั้น ใครกันที่จะต้องเป้นคนเสียภาษป้าย ตามกฎหมาย นั้นถ้าหากว่าไม่มีการยื่นภาษีอย่างถูกต้อง หากไม่มีผู้ที่มายื่นภาษนั้น หรือ พนักงานไม่อาจหาตัวเจ้าของได้นั้น คนที่จะต้องรับผิดชอบในการเสียภาษีป้ายนั้นคือ ผู้ที่ครอบครองที่ดินที่มีป้ายนั้นติดอยู่ หรือ ผู้ครอบครองอาคารนั้นจะเป็นคนที่เสียภาษีป้ายแทนนั้นเอง 

ชำระได้ที่ไหน 

การชำระภาษป้ายนั้นเราจะสามารถชำระได้ที่สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นตั้งอยู่ การชำระภาษีนั้นสามารถกระทำได้ ด้วยกาส่งธนาณัติ หรือ ตั๋วแลกตัวเงินของธนาคาร ที่สั่งจ่าย  หรืออีกหนึ่งช่องทางในการชำระภาษป้ายนั้นเราสามารถชำระได้โดยผ่านช่องทางของธนาคารกรุงไทย เป็นการรับชำระภาษีแบบปกติ โดยไม่มีเงินเพิ่ม  นอกจากนั้นยังสามารถชำระผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย และยังการชำระผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วยนะครับ 

เอกสารในการเตรียมเพื่อยื่นภาษี 

ในกรณที่เป็นป้ายใหม่ยังไม่เคยผ่านการยื่นภาษาอย่างถูกต้องนั้นเราจะต้องเตรียมเอกสารในการยื่นภาษีก่อนนะครับ โดยเอกสารที่เราจะต้องเตรียมนั้นคือ

  • บัตรประจำตัวประชาชน และ ทะเบียนบ้าน 
  • ใบทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์
  • ใบอนุญาตในการติดตั้งป้าย หรือ ใบเสร็จรับเงินจากร้านป้าย (ถ้ามี) 
  • ถ้าเป็นนิติบุคล จะต้องเตรียม หนังสือรับรองนิติบุคล 
  • ใบมอบอำนาจ ถ้าหากว่ามีการทำธุรกรรมแทน 

ถ้าไม่จ่ายภาษีจะมีอะไรบ้าง 

หากว่าเราจงใจในการหลีกเลี่ยง ไม่ยอมจ่ายภาษีตามกำหนด แน่นอนว่ามีบทลงโทษแก่ผู้ที่ทำผิดในการหนีภาษีป้ายด้วยเช่นกัน โดยถ้าเราไม่จ่ายอาจจะโดนปรับดังนี้ 

  • หากจงใจไม่ยื่นภาษาป้าย หรือ แสดงราย จะมีการปรับโทษตั้งแต่ 5,000 บาท ไปจนถึง 50,000 บาท 
  • หากผู้ปรักอบการจงใจที่จะให้ความเท็จ พยายามบิดเบือนข้อมูล เพื่อหนีภาษีนั้นจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี  หรือปรับ5,000 บาท ไปจนถึง 50,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 
  • ผู้ที่ไม่รับแจ้งโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการภาษี ไว้ ณ.ที่เปิดเผบย ต้องระวางโทษตั้งแต่ 1,00บาท ไปจนถึง 10,000 บาท 

และนี้เองเป็นเรื่องของภาษีป้ายที่เราควรเรียนรู้ไว้นะครับเพราะว่ามีประโยชน์ในการทำธุรกิจอย่างมากเลยนะครับ ดังนั้นถ้าหากว่าใครที่กำลังจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ กำลังจะทำป้ายของตัวเองนั้นบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านอย่างมากนะครับ 

Tags: